สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 ธันวาคม 2561

 

ข้าว
 
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข.เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,193 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,215 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,061 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,049 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,123 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,487 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,121 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,457 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,126 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,834 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,029 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,139 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 110 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4909
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
         
เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% สัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงมาอยู่ที่ตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยราคาอ่อนตัวติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 เนื่องจากการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน
มีแนวโน้มลดลงจากมาตรการของทางการจีนที่มีความเข้มงวดมากขึ้น และใช้เวลาในการตรวจสอบคุณภาพข้าวนานขึ้น
ทำให้ผู้ส่งออกไม่กล้าที่จะขาย ขณะที่ผู้ซื้อก็ไม่กล้าที่จะซื้อในช่วงนี้ และมีบางรายเตรียมที่จะโหลดสินค้าที่ท่าเรือแล้ว
แต่ต้องนำข้าวกลับเพราะไม่มั่นใจว่าเมื่อส่งสินค้าไปแล้วฝ่ายจีนจะยอมรับสินค้าหรือไม่ ซึ่งจากการที่รัฐบาลจีนเข้มงวด
ในการนำเข้าข้าวจากเวียดนามมากขึ้นนี้ ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรก เวียดนามส่งออกข้าวไปประเทศจีนลดลงประมาณร้อยละ 39.1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา      
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

          เมียนมาร์
          มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา บริษัทจีน 2 รายได้ทำสัญญาซื้อข้าวจากบริษัท Shan State (Northern) Rice and Paddy Development Public Co.,Ltd. ของเมียนมาร์ เพื่อนำเข้าข้าวประมาณ 15,000 ตัน ซึ่งตามข้อตกลงระบุว่า ให้บริษัทจีนรายดังกล่าวสามารถซื้อข้าวได้ในจำนวนที่สูงที่สุดเท่าที่ทางการจีนจะอนุญาต
          ทั้งนี้ โรงสีข้าวของบริษัท Shan State (Northern) Rice and Paddy Development กำลังอยู่ระหว่าง
การพิจารณาเพื่อให้ได้รับอนุญาต โดยหน่วยงานด้านการตรวจสอบสุขอนามัยพืชของจีน (General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China) ในเรื่องการควบคุมคุณภาพ การตรวจ และการกักกันพืชของประเทศจีน
          องค์กรส่งเสริมการค้าของเมียนมาร์ (The Myanmar Trade Promotion Organization) กำลังเจรจากับ ทางการจีน เพื่อให้มีการขยายการค้าข้าวมากขึ้น ซึ่งเมียนมาร์คาดหวังว่าจะมีการทำสัญญากับประเทศจีนได้ 100,000 -  1,000,000 ตัน ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จจะช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากขึ้น
          กระทรวงพาณิชย์ (the Commerce Ministry) รายงานว่า ในช่วง 8 เดือนแรก (1 เมษายน - 30 พฤศจิกายน 2562) ของปีงบประมาณปัจจุบัน (เมษายน 2561 - มีนาคม 2562) มีการส่งออกข้าว (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 1,450,729 ตัน มูลค่าประมาณ 495.577 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกทางชายแดน มูลค่าประมาณ 270.507 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.6 และส่งออกทางเรือมูลค่าประมาณ 225.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.38
          ในปีงบประมาณ 2555/56 เมียนมาร์ส่งออกข้าวจำนวน 1.423 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 551 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2556/57 เมียนมาร์ส่งออกข้าวจำนวน 1.262 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 475
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2557/58 เมียนมาร์ส่งออกข้าวจำนวน 1.84 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2558/59 เมียนมาร์ส่งออกข้าวจำนวน 1.493 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 526 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปีงบประมาณ 2559/60 เมียนมาร์ส่งออกข้าวจำนวน 1.75 ล้านตัน คิดเป็น มูลค่าประมาณ 553 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออกทางแนวชายแดนมักจะมากกว่าการส่งออกทางเรือ ซึ่งในปีงบประมาณ 2555/56 สัดส่วนร้อยละ 60 ในปี 2556/57 สัดส่วนร้อยละ 72 ปี 2557/58 สัดส่วนร้อยละ 77 ในปี 2558/59 สัดส่วนร้อยละ 81 ในปี 2559/60 สัดส่วนร้อยละ 72 และในปี 2560/61 สัดส่วนร้อยละ 52 และเป็นการส่งออกทางเรือประมาณร้อยละ 48
          ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2560/61 เมียนมาร์ส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน จำแนกเป็นข้าวสารประมาณ 2.89 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวหักประมาณ 620,696 ตัน
          รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวในอีก 3 ปีข้างหน้าให้ได้จำนวนถึง 4 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ขณะที่ ประธานสหพันธ์ข้าวของเมียนมาร์ (the Myanmar Rice Federation) เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือน
ที่ผ่านมา การส่งออกข้าวของเมียนมาร์ผ่านทางชายแดนมีปริมาณลดลงมากกว่าสองเท่าจากการที่ทางการจีนได้ ปราบปรามการค้าข้าวอย่างผิดกฎหมาย โดยในปีนี้เมียนมาร์ส่งออกข้าวไปจีนเดือนละประมาณ 80,000 - 90,000 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ส่งออกเดือนละประมาณ 200,000 ตัน
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          จีน
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ(The National Bureau of Statistics) รายงานว่า ในปีนี้คาดว่าประเทศจีนจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 212.13 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน 212.68 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวของจีนมีปริมาณค่อนข้างทรงตัว แม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกจะลดลงก็ตาม ซึ่งรัฐบาลจีนกำลังพยายามที่จะลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวในบางพื้นที่ลง เพื่อแก้ไขปัญหาสต็อกข้าวของประเทศที่ในขณะนี้มีจำนวนมากเกินไป โดยในปี 2561 นี้ คาดว่าประเทศจีนมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 1,886.8 ล้านไร่
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.83 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.61 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.14
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.97 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.94 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.53 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 317.40 ดอลลาร์สหรัฐ (10,313 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 315.75 ดอลลาร์สหรัฐ (10,269 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 44 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 380.56 เซนต์ (4,932 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 374.96 เซนต์ (4,863 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 69 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต

ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.46 ล้านตัน (ร้อยละ 8.22 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก เนื่องจากเมื่อผลิตเป็นมันเส้นแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.33 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.72  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.57 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.37 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.72  
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.30 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.79 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.75 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 213 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,921 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (6,937 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,783 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,895 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.66
 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.397 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.237 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.450 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.247 ล้านตัน ของเดือนพฤศจิกายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 3.66  และร้อยละ 4.05 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.52 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.37 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.90 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 16.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.42                
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,106.35 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,925.62 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.39      
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 494.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (16.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 482.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.59
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 1,964,166 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 136,505 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 126,618 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 9,887 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 10.88 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 69.50 กก.ต่อตันอ้อย              
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
          รายงานปริมาณการส่งออกน้ำตาลของบราซิล
          กระทรวงการค้า รายงานปริมาณการส่งออกน้ำตาลของบราซิลเดือนพฤศจิกายน 2561 มีจำนวน 1.93 ล้านตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) ลดลงจาก 1.95 ล้านตัน ในเดือนก่อน และต่ำกว่าระดับ 2.24 ล้านตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นเดือนที่อยู่ในระดับต่ำสุดของเดือนตั้งแต่ปี 2550


 

 
ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.08 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.63
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 901.20 เซนต์ (10.90 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 913.64 เซนต์ (11.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.36
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 308.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.17 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 309.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.43 เซนต์ (20.63 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.63 เซนต์ (20.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.70


 

 
ยางพารา
 
 

 
สับปะรด


 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.20 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 21.17 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.14
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 829.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 828.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 736.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 735.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 798.00 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 797.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 519.80 ดอลลาร์สหรัฐ (16.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 519.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.73 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 822.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.75 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.97
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.18 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.25
 ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 77.55 เซนต์(กิโลกรัมละ 56.28 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 79.90 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.04 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.94และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.76 บาท



 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,665 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,688 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.36
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,316 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,319 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.23
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 837 บาท   ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    


 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้นและใกล้เคียงกับผลผลิตสุกรในท้องตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าความต้องการบริโภคและราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลเฉลิมฉลองทั้งวันคริสต์มาสและวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 59.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.75 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.87 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,700 (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50  บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 3.15


 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากใกล้เทศกาลเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส และวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทำให้ภาวะตลาดไก่เนื้อเริ่มคึกคักและคล่องตัว  ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าความต้องการบริโภคและราคาจะสูงขึ้น เพราะเข้าสู่เทศกาลเฉลิมฉลองทั้งวันคริสต์มาสและวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.06บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.69 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.93 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 38.83 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา   เนื่องจากใกล้เทศกาลต่างๆ ทั้งวันคริสต์มาส และวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่มีมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าความต้องการบริโภคและราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลเฉลิมฉลองทั้งวันคริสต์มาสและวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  265 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 264 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 253 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 281 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.56


 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 295 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.05 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.87 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.28 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.01 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.94  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 ธันวาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.03 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 147.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.83 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 14 – 20 ธันวาคม 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 27.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.71 บาท